โลกจะเป็นอย่างไรถ้าพรรคนาซีชนะสงคราม? สำรวจแผนที่โลกจากจินตนาการ พรมแดนต่างๆ จะมีหน้าตาเป็นอย่างไรถ้าเยอรมนีชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 History
Explorer Awards 2018: กรุณา บัวคำศรี กรุณา บัวคำศรี นักข่าวผู้มากประสบการณ์ และกล้าหาญในการนำเสนอเรื่องราวของผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นซ่องโสเภณีเก่าแก่ในบังกลาเทศ หรือพื้นที่สงครามอย่างโมซูล ในอิรัก Cultures
Explorer Awards 2018: วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล "วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล" นักเดินทาง นักทำสารคดี รายการเถื่อน Travel รายการที่พาผู้ชมไปสำรวจด้านมืดของสังคมมนุษย์ผ่านดินแดนอันตรายในหลายประเทศ สถานที่เหล่านี้วรรณสิงห์เล่าว่าเมื่อได้ไปแล้ว "คุณจะไม่มีวันลืม" เพราะการได้ไปสัมผัสพื้นที่สงคราม หรือพื้นที่ที่มีความขัดแย้งจริงๆ นั้น ประสบการณ์ที่ได้รับกลับมามันต่างจากการนั่งอ่านหลายเท่า Cultures
หากสองเกาหลีรวมกันอีกครั้ง ประชาชนชาวเกาหลีมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการกลับมารวมประเทศกันอีกครั้ง ด้านนักวิชาการเชื่อว่ากระบวนการรวมชาติเกาหลีต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากถึงหลายล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และคงใช้เวลาอย่างน้อย 10 ปี กว่าสองประเทศที่แตกต่างจะกลับมาเป็นหนึ่งได้ History
ธรรมชาติกลางความขัดแย้งของสองเกาหลี ระยะเวลากว่า 60 ปีของความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ชมธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ภายในเขตปลอดทหารกึ่งกลางระหว่างสองประเทศ Environment
10 เรื่องน่ารู้ความสัมพันธ์เกาหลีเหนือ-เกาหลีใต้ ทั่วโลกเฝ้าจับตามองการพบกันครั้งประวัติศาสตร์ของสองผู้นำเกาหลี ท่ามกลางความคาดหวังของชาวเกาหลีที่อยากเห็นสันติภาพผลิบานบนคาบสมุทรเกาหลีที่ปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์ เรามาย้อนดูความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลีใน 10 เรื่องน่ารู้เหล่านี้กัน History
ผู้ลี้ภัยเด็กนับพันตกค้างอยู่ที่ชายแดนยุโรป เด็กๆ ผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องฝันสลายเมื่อชายแดนเข้าสู่หลายประเทศในยูโรปถูกปิด ชีวิตที่ไม่มีเป้าหมายของพวกเขาสร้างความกังวลว่าเด็กๆ เหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ Cultures
พลัดที่นาคาที่อยู่ สูญสิ้นแม้ความหวัง “เต้น!” เสียงตะโกนจากเจ้าหน้าที่ทหาร ผู้แกว่งปืนในมือไปยังเด็กหญิงที่กำลังหวาดกลัวจนตัวสั่นเทิ้ม อฟีฟาเพิ่งจะอายุได้ 14 ปี เธอถูกจับกุมอยู่ในนาข้าวรวมกับเด็กหญิงและผู้หญิงคนอื่นๆ อีกหลายสิบคน ทั้งหมดเป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โรฮิงญา บรรดาทหารที่บุกรุกหมู่บ้านของพวกเธอในเช้าวันหนึ่งของเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า พวกเขากำลังตามหาตัวผู้ก่อการร้ายติดอาวุธที่สังหารเจ้าหน้าที่ชายแดนตายไป 9 ราย เด็กผู้ชายและผู้ชายในหมู่บ้านพากันหวาดกลัว ดังนั้นพวกเขาจึงหนีไปซ่อนตัวในป่า และทหารเหล่านี้จึงหันมาข่มขวัญผู้หญิงและเด็กๆ แทน หลังจากถูกค้นตัว อฟีฟาเห็นทหารลากหญิงสาว 2 คนเข้าไปในทุ่งนาลึก ก่อนที่พวกเขาจะมุ่งความสนใจมาที่เธอ “ถ้าแกไม่เต้น” หนึ่งในนั้นกล่าว แล้วเอานิ้วลากไปที่ลำคอของตัวเอง “เราจะฆ่าเธอ” อฟีฟาร้องไห้น้ำตานองหน้า เธอเริ่มแกว่งตัวไปมา พวกทหารปรบมือเป็นจังหวะ บางคนหยิบโทรศัพท์มือถือขึ้นมาถ่ายคลิปวิดีโอไว้ ผู้บัญชาการของพวกเขาสอดแขนเข้ามาโอบเอวของเธอ “แบบนี้ดีกว่าใช่ไหม?” เขาพูดพร้อมรอยยิ้ม เหตุการณ์ทำนองนี้เป็นจุดเริ่มต้นของความรุนแรงล่าสุดที่เกิดขึ้นจากการปราบปรามชาวโรฮิงญาจำนวนกว่า 1.1 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของเมียนมา สหประชาชาติออกมากล่าวว่า ชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงมากที่สุดในโลก พวกเขาเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในประเทศที่พุทธศาสนาเป็นใหญ่ ชาวโรฮิงญาอ้างว่าพวกเขาเป็นชนพื้นเมืองของรัฐยะไข่ และหลายคนก็สืบเชื้อสายมาจากบรรพบรุษที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 แม้พวกเขาจะมีรากเหง้าที่ยาวนาน แต่กฏหมายตั้งแต่ปี 1982 ไม่ได้ให้สิทธิชาวโรฮิงญาเป็นพลเมืองของประเทศ ปัจจุบันพวกเขายังคงมีสถานะเป็นผู้อพยพผิดกฎหมาย และในบังกลาเทศเองก็รองรับชาวโรฮิงญากว่าครึ่งล้านคนที่หลบหนีเข้าไปอาศัยอยู่ การปะทะกันระหว่างชาวพุทธและชาวมุสลิม เมื่อ […] Cultures
ห้าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ การล่าแม่มด แห่งซาเลม ทำความรู้จักกับตำนานแม่มดแห่งเมืองซาเลม เรื่องราวในประวัติศาสตร์เหล่านี้สยองขวัญไม่แพ้ภาพยนตร์เลยทีเดียว Featured
สันติภาพเปราะบาง แม้สงครามกลางเมืองอันนองเลือดและยืดเยื้อยาวนานจะปิดฉากลง แต่ ศรีลังกา ยังมีบาดแผลต้องเยียวยา โดยเฉพาะผู้คนเรือนหมื่นที่ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่และกลายเป็นบุคคลสาบสูญ วันที่ 8 มกราคม ปี 2015 ศรีลังกา ทำให้โลกตกตะลึงด้วยการโค่นรัฐบาลเผด็จการของมหินทะ ราชปักษาในการเลือกตั้งที่พูดได้ว่าสงบและใสสะอาดเป็นส่วนใหญ่ ผู้นำใหม่ของประเทศมุ่งมั่นอยากแสดงให้โลกเห็นว่า ศรีลังกา ทำตัวเป็นประเทศประชาธิปไตยยุคใหม่ได้ รัฐบาลของประธานาธิบดีไมตรีปาละ สิริเสนาเริ่มปฏิรูประบบตุลาการ ที่ฉ้อฉล แปรรูปหน่วยงานรัฐที่อุ้ยอ้ายเทอะทะ และแก้ปัญหาหนี้สินมหาศาล ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจอะไรเลยที่นักท่องเที่ยวจะนั่งเครื่องบินไปลงโคลัมโบ สนุกกับกิจกรรมท่องเที่ยวสารพัดที่ศรีลังกาหยิบยื่นให้ ตั้งแต่การเยี่ยมชมวัดเก่าแก่ที่ดัมบุลลาและเมืองโบราณโปลอนนารุวะ ชมช้างและเสือดาวในอุทยานต่างๆ เที่ยวไร่ชาหรูหราอลังการ ไปจนถึงเล่นกระดานโต้คลื่นที่อ่าวอารูกัม ก่อนบินกลับบ้านโดยไม่ตระหนักเลยว่า ที่นี่คือศูนย์กลางของสงครามนองเลือดระหว่างชาติพันธุ์ที่ยาวนานถึง 26 ปี เหตุผลหรือตัวช่วยหนึ่งอาจมาจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ โคลัมโบตั้งอยู่ทางใต้ เป็นภูมิภาคที่ปกครองโดยชาวสิงหลซึ่งส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและคิดเป็นประชากรราวร้อยละ 75 ของประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวหลักเกือบทั้งหมดกระจุกตัวอยู่ทางใต้ ในทางกลับกัน จังหวัดนอร์เทิร์นไม่มีอะไรโดดเด่น เป็นภูมิประเทศซึ่งส่วนใหญ่แห้งแล้งกันดารและราบเรียบ ที่นี่ยังเป็นบ้านเกิดของชาวทมิฬ ในศรีลังกาซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูและคิดเป็นประชากรราวร้อยละ 11 ของประเทศ ดินแดนทางเหนือและตะวันออกคือบริเวณที่กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam – อีแลมคือชื่อเรียกศรีลังกาในภาษาทมิฬ) สถาปนารัฐปกครองตนเองก่อนถูกปราบปรามในที่สุด “นี่คือประวัติศาสตร์ของโอกาสที่หลุดลอยไปครับ” นายกรัฐมนตรีรานิล […] History