Camping Etiquette : แคมป์อย่างไรให้ยั่งยืน

Camping Etiquette : แคมป์อย่างไรให้ยั่งยืน

2. เช็คอินเข้าพัก ทำความเข้าใจกฎพื้นฐาน และ Quiet Hours 

เมื่อทำการจองที่พักตามที่ต้องการได้แล้ว การเข้าพักทำได้ไม่ยากด้วยระบบการจอง ที่จะมีการส่งหลักฐานการจองมาทางอีเมล ทันทีที่เราไปถึงจุดสำหรับแคมปิ้งแล้ว แค่เพียงแวะเช็คอินที่สำนักงานเพื่อรับป้ายแขวนรถ ก่อนจะเข้าไปพักที่จุดกางเต็นท์ได้เลย แม้จะดูเหมือนว่าสถานที่ตั้งแคมป์ต่าง ๆ จะมีกฎข้อบังคับมากมายคอยควบคุม แต่ในส่วนของการจองและเช็คอิน บางอย่างก็ยืดหยุ่นได้ เช่นหลาย ๆ ครั้งที่เราไม่ได้จองไว้ล่วงหน้า และไปถึงที่พักหลังจากสำนักงานปิดไปแล้ว เราสามารถเข้าพักก่อนได้ในคืนนั้น และเข้าไปชำระเงินที่สำนักงานได้ในตอนเช้า แต่ต้องมั่นใจว่าเราเลือกจุดตั้งแคมป์ที่ว่างและไม่มีใครจองไว้ก่อนแล้ว

พื้นที่จัดกิจกรรมตั้งแคมป์ทุกแห่งจะมีช่วงเวลา Quiet Hours ชัดเจน และทุกคนจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยส่วนมากจะห้ามส่งเสียงดัง เล่นดนตรี หรือเปิดเพลงในช่วงเวลาหลังสี่ทุ่มไปจนถึงหกโมงเช้า โดยช่วงเวลา Quiet Hours จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละที่ พื้นที่ตั้งแคมป์แม้จะอยู่ในที่โล่งห่างจากกัน แต่ในเวลากลางคืนเสียงดังเพียงนิดเดียว ก็สามารถเป็นมลภาวะทางเสียงรบกวนผู้อื่นและสัตว์ป่าได้

แคมปิ้ง, แคมปิ้งอย่างไร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

สิ่งที่เราเห็นว่าดีมากของที่นี่คือ แม้จะไม่ได้มีการห้ามส่งเสียงดังในเวลากลางวัน แต่คนส่วนใหญ่ก็จะอยู่กันอย่างเงียบสงบ ไม่ใช้เสียงเกินความจำเป็น หรือเปิดเพลงจนได้ยินกันทั้งสถานที่ตั้งแคมป์ เพราะทุกคนต่างเข้าใจตรงกันว่าเราหนีจากเมืองออกมาเพื่อหาความสงบจากธรรมชาติ การไม่นำมลภาวะทางเสียงและสายตาเข้าป่ามากับเราด้วย เป็นสิ่งที่ทุกคนพร้อมใจกันปฏิบัติตาม

แคมปิ้ง, แคมปิ้งอย่างไร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้คนส่วนมากที่เราพบเจอเมื่อไปแคมปิ้งล้วนแต่มีน้ำใจ และพร้อมให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมแคมป์ เพียงแค่เราเอ่ยปาก แต่ในขณะเดียวกันก็เคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นอย่างเต็มที่ ตั้งแต่การรักษาระยะห่างไม่รบกวนกัน ใช้พื้นที่ส่วนรวมอย่างเอื้อเฟื้อและเกรงใจผู้อื่น รวมทั้งช่วยกันรักษาความสงบและสะอาดเป็นอย่างดี

3. จัดการขยะอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ไม่รบกวนสัตว์ป่าและธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติในอเมริกาส่วนใหญ่ แม้ได้รับการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน แต่ก็ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้อย่างมากเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากจำนวนสัตว์ป่าที่แวะเวียนเข้ามาในจุดแคมปิ้งอยู่เรื่อย ๆ จนต้องมีข้อห้ามที่ต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดในการป้องกันสัตว์ป่าเข้ามารบกวน (และไม่ไปรบกวนวิถีชีวิตของสัตว์ป่า) โดยเฉพาะหมีดำที่มีอยู่ทั่วไปในอุทยานแห่งชาติของอเมริกา การปล่อยให้สัตว์ป่าเข้ามาคุ้ยเขี่ยหาอาหาร และขยะในพื้นที่แคมปิ้งนอกจากจะเป็นอันตรายต่อคนแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสัตว์ด้วยเช่นกัน

การจัดการอาหารและขยะเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ถังขยะป้องกันหมี ได้รับการออกแบบตัวล็อคมาอย่างดี ให้เปิดล็อคได้ด้วยการสอดมือเข้าไปในช่องปลดล็อคเท่านั้น ช่องนี้จะมีความแคบทำให้หมีไม่สามารถแหย่อุ้งเท้าเข้าไปได้ เมื่อหมีเรียนรู้ว่าไม่สามารถมาหาอาหารจากบริเวณพื้นที่ตั้งแคมป์ได้ ก็จะไม่เข้ามาใกล้อีกต่อไป

แคมปิ้ง, แคมปิ้งอย่างไร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

Bear proof storage และ Bear canister สำหรับเก็บอาหาร และสิ่งของที่มีกลิ่น เพื่อป้องกันไม่ให้หมี หรือสัตว์ป่าตามกลิ่นอาหารมา หลาย ๆ ​พื้นที่สำหรับตั้งแคมป์จะมีตู้เหล็กเก็บอาหารไว้ให้บริการ อาหารที่เหลือจากแต่ละมื้อจะต้องนำไปเก็บในตู้ที่มีล็อคแบบพิเศษป้องกันไม่ให้หมีหรือแรคคูนเปิดตู้ได้ หากไปแคมป์แล้วไม่มีตู้เหล่านี้ควรนำอาหารไปเก็บไว้ให้ไกลจากบริเวณที่นอนมากพอที่จะป้องกันไม่ให้หมีเข้ามาใกล้เราในตอนกลางคืน แม้กระทั่งยาสีฟัน สบู่ หรือขนมที่มีกลิ่นหอม ก็ไม่ควรเก็บไว้ใกล้ตัว เพราะสัตว์ป่าเหล่านี้มีจมูกดีกว่าที่เราคิดไว้หลายเท่า และกลิ่นหอมหวานเหล่านี้มักจะเป็นตัวดึงดูดสัตว์ต่าง ๆ เข้ามาหาเราถึงที่นอน ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้อย่างไม่น่าเชื่อ

แคมปิ้ง, แคมปิ้งอย่างไร, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นอกจากการป้องกันสัตว์ป่ามาคุ้ยเขี่ยหาอาหารจากขยะแล้ว บางครั้งอาจจะมีสัตว์ป่าที่ดูไม่เป็นอันตรายมาวนเวียนใกล้ ๆ จุดตั้งแคมป์ของเรา เพียงหวังว่าจะมีคนแบ่งขนมให้ จำไว้ให้ขึ้นใจว่าเราไม่ควรให้อาหารสัตว์ป่าเหล่านี้ นอกจากอาหารและขนมของเราจะไม่ดีต่อสุขภาพของสัตว์แล้ว ยังเป็นการทำให้สัตว์คุ้นชินกับมนุษย์มากเกินไป จนเป็นอันตรายต่อสัตว์และคนได้ในอนาคต

อ่านต่อหน้า 3

Recommend