รับมือไฟป่า ได้เร็วขึ้น ด้วยระบบ Sensor IOT

รับมือไฟป่า ได้เร็วขึ้น ด้วยระบบ Sensor IOT

ทำไม…ต้องเข้าป่าเพื่อไปติดตั้งเสาสัญญาณ

ทำไม…ถึงต้องเดินทางไปในที่ที่ไม่คุ้นเคย

กับภารกิจเดินเท้าเข้าป่า… เพื่อ รับมือไฟป่า ด้วยเทคโนโลยี Sensor IOT

ปัญหาไฟป่าทางภาคเหนือที่ลุกลามอย่างหนักเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้หลายหน่วยงานเริ่มตระหนักถึงความรุนแรงที่อาจทวีเพิ่มมากขึ้นหากเรายังไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง ล่าสุดก็มีข่าวดีเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างทีม AIS NEXT ร่วมกับหน่วยงานวิจัยด้านเทคโนโลยีอวกาศ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น ได้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์สุดล้ำเพื่อช่วยแก้ปัญหาและ รับมือไฟป่า ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สิ่งนี้คืออุปกรณ์ตรวจจับการเกิด ไฟป่าที่มีชื่อว่า “Sensor IOT” ซึ่งดำเนินการภายใต้โครงการ “โครงการดาวเทียม IOT เพื่อตรวจจับไฟป่า”

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ

รู้เร็ว จัดการเร็ว ก็จบปัญหา และ รับมือไฟป่า ได้เร็ว

ทีม AIS NEXT เริ่มทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนในสังคมมาได้สองปีแล้ว ปัจจุบันเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องไฟป่า อันเนื่องมาจากสถานการณ์ไฟป่าที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อช่วงต้นปี 2563 ทำให้ต้องลงมือศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะผลกระทบจากไฟป่าเริ่มคุกคามเข้ามาสู่เมือง วันนี้จึงต้องเริ่มต้นให้เกิดองค์ความรู้ก่อน ไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้เจ้าหน้าที่ทุกคน “รู้เร็ว” นี่คือหัวใจหลักของโครงการนี้ ขั้นตอนต่อไปก็เป็นเรื่องการจัดการกำลังพลของเจ้าหน้าที่ให้ “จัดการเร็ว” ซึ่งในอนาคตอันใกล้อาจมีการนำอากาศยานไร้คนขับมาร่วมจัดการด้วยอีกทางหนึ่ง โดยตอนนี้กำลังศึกษาถึงความเป็นไปได้กันอยู่

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ
Sensor IOT มีหน้าที่ตรวจจับสัญญาณ ไฟป่า ควันไฟ ความชื้น ที่ออกแบบโดยคนไทย

การทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับการเกิดไฟป่า “Sensor IOT

อย่างที่ทราบกันดีว่าปัญหาไฟป่าไม่ได้เกิดผลกระทบเพียงแค่ในป่า แต่ยังส่งผลมาสู่วิถีชีวิตของผู้คนในเมือง โดยเฉพาะการเกิดปัญหาฝุ่นควันที่สร้างมลภาวะทางอากาศอย่างเลวร้าย การแก้ปัญหาตามแนวคิดของโครงการนี้จึงเป็นการลดระยะเวลาในการแจ้งเตือนการเกิดไฟป่า ปัจจุบันเรารู้ช้ามาก การจัดการเรื่องควันไฟจึงเป็นไปอย่างช้าๆ ต้องใช้เวลาแจ้งเตือนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง กว่าเจ้าหน้าที่จะทราบแหล่งที่เกิดไฟป่า บางครั้งไฟก็ลุกลามขยายพื้นที่เป็นวงกว้างโดยที่ไม่อาจควบคุมได้ ดังนั้นหากเรารู้เร็ว จัดการได้เร็ว ก็สามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนการเกิดไฟป่ามายังโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เลย เจ้าหน้าที่สามารถจัดกำลังคนและวางแผนปฏิบัติการดับไฟป่าได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า กล่าวคือเรารู้ว่าไฟป่ามักเกิดในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งอากาศแห้ง มีใบไม้เป็นเชื้อเพลิงสะสมอย่างดี และมีความเข้มของแสงอาทิตย์มากขึ้น เราจึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าพื้นที่นั้นๆมีแนวโน้มจะเกิดไฟป่าได้หรือไม่ โดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับความชื้น ความเข้มของแสง ควัน หรือประกายไฟ ซึ่งทีมงานได้คิดค้นอุปกรณ์ทั้งหมดมาใส่ไว้ในตู้อุปกรณ์ตรวจจับเพียงตู้เดียว และประเทศไทยเป็นที่แรกๆ ที่คิดทำโครงการนี้

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ
ทีมงานกำลังแนะนำการใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่

หลักการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับการเกิดไฟป่าคือ มี Sensor Node กระจายติดตั้งตามจุดเสี่ยงที่ เคยเกิดปัญหาไฟป่าซ้ำซากทั่วผืนป่าที่ทำการทดลอง โดยมีหน้าที่จับสัญญาณไฟ ความร้อน อุณหภูมิและความชื้นในอากาศ เมื่อเครื่องตรวจจับพบสัญญาณที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดไฟป่า ก็จะส่งข้อมูลไปยังเสารับสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บริเวณสูงสุดบนยอดเขา สัญญาณที่ตรวจจับได้จะถูกส่งมายังเสารับสัญญาณโทรศัพท์ที่อยู่ด้านล่างหรือบริเวณชุมชน จากนั้นก็จะส่งสัญญาณสู่ดาวเทียมแล้วส่งข้อมูลตรงไปยังเจ้าหน้าที่ควบคุมดาวเทียมภาคพื้นดิน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 นาทีในการรับรู้ ที่ทำได้เร็วก็เพราะในพื้นที่ติดตั้งเสาสัญญาณนั้นต้องมีแม่ข่ายสัญญาณ 4 G ทำงานร่วมกับดาวเทียม แต่ในกรณีที่อยู่ในป่าลึกที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ ก็ต้องใช้สัญญาณจากดาวเทียมมากกว่าหนึ่งดวงเพื่อช่วยประมวลผล ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการแจ้งเตือน แต่ด้วยรัศมีการติดตั้ง Sensor IOT ไกลถึง 12 กิโลเมตร และมีความครอบคลุมพื้นที่ การใช้ดาวเทียมอย่างเดียวในการแจ้งเตือนอาจมีไม่มาก

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ
เส้นทางเดินป่าเป็นป่ารกและชัน

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ

ภารกิจแบกเสาสัญญาณขึ้นสู่ยอดเขา

เสาสัญญาณต้องติดตั้งในพื้นที่ที่สูงที่สุดในผืนป่าแห่งนั้นและต้องไม่มีต้นไม้บัง ผืนป่าที่ทดลองติดตั้งอุปกรณ์นี้อยู่ที่จังหวัดแพร่ ซึ่งได้รับผลกระทบจากไฟป่าเป็นลำดับต้นๆ เส้นทางเดินป่าเป็นภูเขาสูงชัน การเดินทางแบกสัมภาระขึ้นไปนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ด้วยระยะทางจากพื้นราบขึ้นสู่ยอดเขา 3.5 กิโลเมตร บนความสูง 1,060 เมตรจากระดับทะเล แต่ทีมงานก็ลงมือทำทั้งที่ยังไม่รู้ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ สองคืนสามวันท่ามกลางสายฝนที่ตกโปรยปรายอยู่ตลอดเวลา กลุ่มคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เหล่านี้กลับมีความมุ่งมั่นตั้งใจอยากให้ระบบนิเวศของบ้านเราดีขึ้น ทั้งที่พวกเขาไม่มีประสบการณ์เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางป่าลึกกันมาก่อน แต่ก็ผ่านกันมาได้ บอกได้เลยว่านับถือในน้ำใจจริงๆ

รับมือไฟป่า, ไฟป่า, การเกิดไฟป่า, ไฟป่าภาคเหนือ

รังหมูป่า ระหว่างทางเดิน
ถาดใส่อาหารกลางวันจากธรรมชาติ
เสียมขุดหลุมจากธรรมชาติ

เมื่อติดตั้งเสาเสร็จ ต้องมีการเชื่อมต่อสัญญาณจากอุปกรณ์ตรวจจับ Sensor IOT

หลังการติดตั้งเสาและทดสอบสัญญาณทั้งระบบแล้ว เวลาผ่านไปเกือบสองสัปดาห์ในขณะที่พิมพ์ต้นฉบับนี้อยู่ก็ได้รับทราบข่าวดีว่าผลการทดสอบระบบประสบผลสำเร็จตามที่ตั้งใจ และหวังว่าฤดูแล้งคราวหน้า เราจะรู้และจัดการปัญหาไฟป่าได้เร็วเหมือนดังที่หวัง เพื่อให้ผืนป่าอันเป็นที่รักยังคงอยู่สืบไป

 

ขอบคุณข้อมูล

คุณกาญจน์ชนิต ธำรงบุญเขต

คุณธำรงรัตน์ ธนภัคพลชัย


เรื่องและภาพ : ไตรรัตน์ ทรงเผ่า

อ่านเรื่องเกี่ยวกับไฟป่าเพิ่มเติมได้ที่

 

Recommend